จำหน่าย ระบบควบคุมทางเข้าออก RFID ระบบรักษาความปลอดภัย เสากันขโมยสินค้า
สนใจสินค้าติดต่อ 095-651-4593 (ฟิล์ม)
RFID คืออะไร?

RFIDคืออะไร?

RFIDคืออะไร?

อาร์เอฟไอดี (RFID ย่อมาจากคำเต็มว่า Radio frequency identification ) เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้

RFID tag มีการทำงานบางส่วนที่สามารถทำงานได้ในขณะที่ไม่มีแบตเตอรี่ และมีแบตเตอรี่ นั้นคือการอ่านและเขียนบน EEPROM ผ่านทาง Low frequency radio

ที่มา อาร์เอฟไอดี วิกิพีเดีย

อุปกรณ์ และ การใช้งาน Radio frequency identification

อาร์เอฟไอดี เป็นระบบที่นิยมใช้ในกลุ่มการทำป้ายราคา หรือ ฉลาก โดยเป็นการตรวจสอบสินค้าต่างๆ และต่อมาได้ประยุกต์ มาใช้งานในกลุ่มต่างๆ รวมทั้ง กลุ่มงานควบคุมทางเข้าออก Access Control โดยการทำงานของ RFID นั้นประกอบด้วย ภาครับ Receiver และ ภาคส่ง Transfer เพื่อเป็นการตรวจสอบค่า ผ่านทางคลื่นวิทยุ อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เมื่อมีทั้งภาครับ ภาคส่ง จึงแบ่งอุปกรณ์ และ การทำงานออกได้เป็น 2 ส่วนดังนี้

  • READER
  • TAG

เสาส่งสัญญาณ RFID Reader

คือส่วนของอุปกรณ์ส่งสัญญาณ ที่เป็นหัวอ่าน โดยหน้าที่หลักคืออุปกรณ์ที่สามารถรับค่า หรืออ่านค่า เพื่อนำเข้าสู่อุปกรณ์ใดๆ เช่น หัวอ่าน อาร์เอฟไอดี ของทาง FEDA หรือ หัวอ่านที่อยู่กับเครื่อง Access Control

SF300 Acess Control Radio frequency identification

Access Control เองก็เป็นหัวอ่าน RFID ประเภทหนึ่ง

โดยหัวอ่าน RFID ก็ยังสามารถแบ่งตามรูปแบบของคลื่น และ ระยะการอ่านของหัวอ่านได้ โดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ >  หัวอ่านบัตร ระยะไหน เหมาะกับใคร?

ตัวรับสัญญาณ RFID หรือ แท็ก (Tag)

ตัวรับสัญญาณ RFID มีองค์ประกอบหลักๆ เพียง 2 ส่วนนั้นคือ เสาอากาศ หรือ สายอากาศ (Antenna) ที่ทำหน้าที่ สำหรับรับส่งสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ  และส่วนของ ชิพ ไมโครชิพ   (Microchip) ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลของวัตถุ เช่น รหัสสินค้า โดยทั่วไปแล้ว ตัวรับสัญญาณ RFID จะเป็นอุปกรณ์ที่มีรูปลักษณ์ หลากหลาย ตั้งแต่ สติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า พวงกุญแจ บัตรพีวีซี ฯลฯ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน

นอกจากอุปกรณ์ที่เป็นวัสดุภายนอกแล้ว ยังมีในส่วนของแหล่งพลังงาน โดย ตัวรับ หรือ RFID TAG มีทั้งแบบ ที่ใช้แบตเตอรี่ หรือ ถ่าน เพื่อจ่ายพลังงานให้กับตัวรับ และแบบไม่มีการใช้ แบตเตอรี่ ในการจ่ายไฟ ทำให้เราแบ่งตัวรับ RFID ได้ 2 รูปแบบ ดังนี้

  • Passive RFID Tag คือ เป็นแท็กที่ไม่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟภายนอกใดๆ เพราะภายในจะมีวงจรกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำขนาดเล็กอยู่ ฉะนั้นการอ่านข้อมูลได้ไม่ไกลนัก ระยะไม่เกิน 1 เมตรขึ้นอยู่กับความแรงของเครื่องส่งและคลิ่นความถี่วิทยุ หน่วยความจำขนาดเล็ก 16 – 1,024 ไบร์ท ส่วน IC(Integrated circuits) จะควบคุมโครงสร้างเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
    1. ส่วนควบคุมการทำงานของภาครับ-ส่งสัญญาณวิทยุ(Analog Front End)
    2. ส่วนควบคุมภาค Logic (Digital control unit)
    3. ส่วนของหน่วยความจำ(Memory) ซึ่งอาจจะเป็นแบบ ROM หรือ EEPROM

ตัวอย่างบัตรในกลุ่ม Passive RFID Tag

รูปแบบ บัตร RFID ที่ใช้ในระบบควบคุมการเข้าออก

  • Active RFID Tag

คือ เป็นแท็กที่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายนอกเพื่อจ่ายพลังงานให้กับวงจรภายในทำงานซึ่งจะมีหน่วยความจำได้ถึง 1 เมกะไบร์ท การอ่านข้อมูลได้ไกลสูงสุด 10 เมตรซึ่งแท็กชนิดนี้สามารถแบ่งประเภทย่อยๆได้อีก ดังนี้

  • สามารถถูกอ่านและเขียนข้อมูลได้อย่างอิสระ(Read-Write)
  • สามารถเขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นแต่อ่านได้อย่างอิสระ(Write- Once Read- Many หรือ WORM)
  • สามารถอ่านได้เพียงอย่างเดียว (Read – only)

ตัวอย่างบัตรในกลุ่ม Active RFID Tag

Radio frequency identification

ด้วยความสามารถของอุปกรณ์ และหลักการทำงาน ของ RFID ทำให้ประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย เราจะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป . . .

 

ที่มาบทความ : FEDATECH