เครื่องกั้นทาง มีกี่แบบ?
เครื่องกั้นทาง ชื่อก็บอกแล้ว ว่าเป็นสิ่งกีดขวางประเภทหนึ่งค่ะ โดยเครื่องกั้นทางนั้น สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องกั้น เพื่อให้กระทำการใดๆ ก่อนผ่านช่องทางนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบความปลอดภัย ด้วยตา การใช้เครื่องลงเวลา การสแกนบัตร การแสกนลายนิ้วมือ การตรวจสอบม่านตา การตรวจสอบค่าไฟฟ้าสถิตย์ รวมถึง นำไปติดตั้งกับเครื่องล้างรองเท้า กล่าวคือ ให้กระทำการใดๆ ก่อนที่ผ่านไปได้นั้นเอง
เครื่องกั้นทางแบ่งเป็นกี่แบบ ?
ถ้าแบ่งตามการใช้งานจะได้เป็น กลุ่มที่ใช้กับรถ พาหนะ กับกลุ่มที่ใช้กับคน นั้นเอง
เครื่องกั้นทางที่ใช้กับคน มีกี่แบบ?

รูปภาพ |
รายละเอียดเครื่องกั้น |
 |
เครื่องกั้นสามขา
เป็นเครื่องกั้นทางที่ เห็นได้ทั่วไป ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่
เป็นที่นิยมที่สุดในบ้านเรา สามารถนำไปติดตั้งกับระบบต่างๆได้มากมาย |
 |
Flap Barrier / Wing gate
ประตูปีกผีเสื้อ ที่พบเห็นกันได้ตามบีทีเอส MRT ข้อดีคือตั้งค่าได้เยอะ
มีเซ็นเซอร์ตรวจจับถึง 3 จุด เพื่อความปลอดภัย แต่ไม่เหมาะสำหรับเด็ก
เนื่องจากความสูงของเด็กไม่ถึงจุดเซ็นเซอร์ด้านบน หากเป็นไปได้
ให้อุ้มผ่านเตรื่องไป |
 |
Drop Arm
เครื่องกั้นเครื่องนี้ ไม่มีชื่อภาษาไทยค่ะ เนื่องจากเป็นเครื่องกั้น ที่ไม่มี
จำหน่ายในไทย เท่าไหร่นัก อันเนื่องมากจาก ปัญหาของการที่มีแขนเดียว
คนลอดผ่านใต้เครื่องได้อย่างสะดวก จึงไม่เหมาะกับการใช้งาน
การทำงานคือ เมื่อทาบบัตร หรือ กระทำการใดๆ แขนกั้นตกลงมา เพื่อเก็บ
แล้วจึงเดินผ่านได้ค่ะ เหมาะกับรถไฟฟ้าดีนะคะ คงยากหน่อยที่จะหนีบ
แต่อาจจะแทรกกันผ่านได้ 2 คนค่ะ (เดินตามติดๆกัน) |
 |
Full Height
ประตูหมุนโปร่ง ประตูเต็มบาน เป็นคำนิยามที่ตามชื่อเลย
โดยเป็นเครื่องกั้นทางที่ความสูงตามความสูงคน คือกว่า 1.7 เมตร
เพื่อเป็นการป้องกันที่เต็มรูปแบบ ไม่มีการแอบผ่านเข้าออกอย่างแน่นอน
เริ่มนิยมนำมาใช้ ในโรงงาน และตามห้องน้ำ ด้วยราคาที่สูง แต่คุ่มค่า
ไม่มีการแอบผ่านได้อย่าง 100% |
 |
Half Height
ครึ่งหนึ่งของบาน ประตูหมุนโปร่ง เหมาะกับในโรงงานที่มีการตรวจสอบ
การเฝ้าของ รปภ เป็นเครื่องที่มีขนาดเล็ก เดินผ่านได้สะดวกกว่าเครื่องสามขา
สัมภาระเล็กๆ น้อยๆ ผ่านได้ดีกว่า รุ่น Flap Barrier ช่องผ่านมีขนาด 90 องศา
ไม่ค่อยพบเห็นในประเทศไทย |
 |
Speed Gate
เครื่องกั้นทางรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่มีปัญหามาก เนื่องจากไม่มีการเรียกเหมือนกันเลย
มีการเรียกทั้ง Swing Gate และ Speed Gate แต่มีหลักการทำงานเหมือนกันคือ
เมื่อมีการทาบบัตร บานจะเปิดไปอีกด้าน กำหนดได้ทั้ง 1 ทางและ 2 ทาง
รถไฟฟ้าใต้ดิน ญี่ปุ่น นิยมใช้แบบนี้ เรื่องจากเมื่อตีหน้า จะไม่ค่อยเจ็บ |
 |
Swing Gate
เครื่องกั้นทางรุ่นนี้ เป็นรุ่นที่มีปัญหาเหมื่อนรุ่นด้านบน มีการเรียดสลับกัน
ระหว่าง 2 รุ่นนี้ มีการเรียกทั้ง Swing Gate และ Speed Gate
แต่มีหลักการทำงานเหมือนกันคือ เมื่อมีการทาบบัตร บานจะเปิดไปอีกด้าน
กำหนดได้ทั้ง 1 ทางและ 2 ทาง สำหรับรุ่นนี้ มีการใช้ตามโรงงาน เนื่องจาก
มีความทนทาน ในการเข็นรถผ่าน เหมาะกับการเข็นรถผ่าน ดัน เมื่อผ่านจนสุด
จะมีการปิดกลับด้วยตัวเอง |
 |
Non Arm
เป็นเครื่องกั้นอีกรุ่นหนึ่ง ที่มีการใช้น้อยมาก เท่าที่เห็นก็เห็นเพียง 1 – 2 ที่เท่านั้น
เป็นเครื่องกั้นทาง แบบนับคน ที่แม่นกว่าเครื่องนับคน ด้วยเซ็นเซอร์ ถึง 4 จุด
เมื่อใช้งานกับ บอร์ด VMS ของเราจะสามารถแจ้งเตือนคนเดินผ่านช่องทางได้
แต่อาจจะไม่สะดวกในการใช้งานนั้น เหมาะกับสถานที่ ที่ต้องการกั้นเส้นทาง
เพื่อวัดผลทางสถิติมากกว่า |
ทุกรุ่นที่กล่าวมา ทางเราสามารถจัดหา เพื่อจัดจำหน่ายได้ทุกรุ่น กรุณาหาภาพ สเปค ที่ต้องการ ราคาที่ตั้งไว้ (งบประมาณ) แล้วติดต่อาสอบถามเข้ามาได้เลยทางฝ่ายขายของเรา