‘Abilify MyCite’ นวัตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่ขาดยาไม่ได้
ก่อนหน้านี้เราเคยมีบทความเกี่ยวกับยา ที่ปัญญาในรูปแบบของคิวอาร์โค้ดไปแล้ว ในหัวข้อ นวัตกรรมคิวอาร์โค้ดกับการกินยา วันนี้ก็จะขอพูดถึงตัวยาดิจิตอล ที่มีการฝัง Sensor ลงไปในเม็ดยา จะมีหลักการ ในการทำอย่างไร ขอให้อ่านบทความนี้ไปจนจบ
คุณเป็นผู้ป่วยหรือเปล่า คุณมีโรคประจำตัวไหม สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวแล้ว การกินยาตลอดชีวิต หรือการรับประทานยาเป็นเวลานานๆ เป็นเรื่องปกติเปรียบเหมือนการกินข้าวกันเลยทีเดียว ยกตัวอย่างโรคประจำตัวที่ไม่สามารถขาดยาได้ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคเลือด โรคธาลัสซีเมีย จิตเวช โรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อน และอื่นๆ
แล้วจะมั่นใจได้ยังไงว่าคุณไม่ได้ลืมกินยา มีอะไรให้หมอตรวจสอบได้บ้างว่าคุณไม่ได้ลืมกินยา สำหรับผู้ป่วยจิตเวชแล้ว การขาดยานั้น เปรียบเสมือนระเบิดเวลา เพราะอาการขอคนไข้จะแย่ลง และผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรม หรืออะไรต่างๆได้เลย ผู้ป่วยในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เรียกว่า ไม่ชอบกินยา ก็ว่าได้
คนไข้ที่ไม่ออกกินยา มีความสามารถพิเศษ รายการหลอกหมอ ว่ากินยาแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น ทำให้ผู้รักษาไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ แต่ปัญหาเหล่านั้นจะหมดไป ข้อนวัตกรรมใหม่ ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ ให้ใช้งานได้จริง
‘Abilify MyCite’ หรือยาเม็ดติดเซนเซอร์ คือสิ่งที่ตอบโจทย์นั้น และการกินยาของคุณ จะถูกบันทึก ลงใน Application ดังนั้นคนไข้จะไม่สามารถหลอกหมอได้อีกต่อไป หลักการทำงานของ Abilify MyCite หรือยาเม็ดติดเซนเซอร์ จะใช้เซนเซอร์ที่ทำขึ้นจากทองแดง แมกนีเซียม และซิลิคอนฝังลงไปในตัวเม็ดยา เมื่อยาเดินทางสู่กระเพาะอาหารจนพบเข้ากับกรดและเกิดกระบวนการย่อย ตัวยาจะปล่อยคลื่นสัญญาณไฟฟ้าออกมาสู่แผ่นรับข้อมูลที่คนไข้ต้องติดไว้ชั่วคราวบริเวณชายโครง และข้อมูลเรื่องวันเวลาในการกินยาทั้งหมดจะถูกส่งลงไปในแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ขณะที่คนไข้ก็สามารถเลือกแชร์ข้อมูลนี้ต่อไปให้แพทย์และผู้ดูแลได้
จริงๆแล้วไม่จำเป็นว่าต้องใช้กับผู้ที่ไม่ยอมกินยา สำหรับผู้ที่ทานยาตามปกติแต่มีปัญหาเรื่องการลืม หรือการกินซ้ำบ่อยๆ จากภาวะโรคต่างๆเช่นอัลไซเมอร์ โรคย้ําคิดย้ําทํา การที่มีตัวยาดิจิตอลที่ติดเซ็นเซอร์นี้ จะช่วยให้สามารถตรวจสอบการกินยาของตัวเอง ผ่านแอพพลิเคชั่น ได้ง่ายขึ้น ลดการ Overdose หรือการกินยาเกินขนาดเนื่องจากการกินซ้ำ และสำหรับลูกหลานที่มีผู้ป่วยที่บ้าน สามารถติดตามพฤติกรรมการกินยาได้ สะดวกมากขึ้น
แต่ปัญหาหลักคือ ราคา ที่จะต้องแพงมากกว่าปกติ ถ้าไม่ให้มีการใช้งานในกลุ่มของ ผู้ป่วยที่มีปัญหาจริงๆเท่านั้น และแน่นอนว่าในประเทศไทย ด้วยปัญหาทางด้านสิทธิบัตรของยา และขั้นตอนในการผลิตต่างๆ ราคาคงจะแพงหูฉี่และยังไม่สามารถนำเข้ามาจำหน่ายได้ องค์การอาหารและยาของประเทศไทยเอง ยังไม่ยอมรับในยาตัวนี้ แต่ว่าในอนาคตอันใกล้ หากการผลิตยาเป็นไปได้ด้วยดีและราคาถูกลง คงได้มีโอกาสในการใช้ยา ในรูปแบบนี้ กันอย่างแน่นอน
‘Abilify MyCite’ นวัตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่ขาดยาไม่ได้ เหมาะกับใคร
- ผู้ป่วยจิตเวช คือกลุ่มหลัก ที่เป็นปัญหาทำให้ต้องมีจ่ายยาในรูปแบบนี้
- ผู้ป่วยกลุ่มอัลไซเมอร์ ที่มีการหลงลืมในการกินยา
- ผู้ป่วยกลุ่มโรคย้ำคิดย้ำทำ ที่มีปัญหาการกินยาซ้ำทำให้เกิดการ Overdose
- ผู้ป่วยที่ต้องกินยาสม่ำเสมอ
- ผู้ป่วยโรคประจำตัว
- ฯลฯๆ
ที่มา : https://www.nytimes.com/2017/11/13/health/digital-pill-fda.html